13 วิธีดูแล ปวดเข่า ในผู้สูงอายุ อายุเข้าสู่เลข 50+ มีปัญหากระดูกและข้อควรดูแลอย่างไรค่ะ
13 วิธีดูแล ปวดเข่า ในผู้สูงอายุ อายุเข้าสู่เลข 50+ มีปัญหากระดูกและข้อควรดูแลอย่างไรค่ะ อายุที่เพิ่มมากยิ่งขึ้น ร่างกายใช้งานหนักมาทุกวัน ถึงแม้ดูแลมาดีแล้ว แต่ทำไมสุขภาพไม่เหมือนในวัยเด็ก
เมื่อมีกระบวนการสร้าง ย่อมมีการสลายของมวลกระดูก หรือกระดูกอ่อน ร่างกาย หรือสังขาร ย่อมมีความเสื่อมถอยลง อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้มวลกระดูกบาง หรืออาจเกิดโรคกระดูกพรุน
เมื่อไขข้อต่อต่างๆในร่างกาย เริ่มไม่แข็งแรง และมีการใช้งานหนักอย่างต่อเนื่อง มักจะเกิดอาการอักเสบ จนเกิดโรคข้อเสื่อมตามมา จึงมักเกิดปัญหาข้อเข่าเสื่อม เจ็บกระดูกมากๆ กระดูกพรุน กระดูกขาโก่งงอ หรือ – ปวดเข่า ในผู้สูงอายุ
ปัจจัยเสี่ยงกระตุ้นให้เกิดปัญหากับกระดูกและข้อเมื่ออายุเข้าสู่เลข 50+ ในผู้สูงอายุ
- อาการปวดเข่า ในผู้สูงอายุ หรือ ผู้ที่มีอายุ 50+ ปีขึ้นไป ทั้งหญิงและชาย หลายๆคน มักจะเริ่มพบปัญหาการสึกกร่อน ของกระดูกอ่อนผิวข้อ
- เกิดจากความผิดปกติแต่กำเนิด บริเวณของข้อสะโพกหรือข้อเข่า
- ผู้สูงวัย ที่มีการออกกำลังกายที่มีการกระแทกข้อซ้ำๆ รวมถึงวัยรุ่นที่ใช้ร่างกาย ไขข้อหนักมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน
- ผู้ที่มีโรคข้ออักเสบจาก อย่างเช่น โรคข้อรูมาตอยด์ มีอาการโรคข้อติดแข็ง หรือโรคติดเชื้อต่างๆ
- ใน ผู้สูงอายุ ปวดข้อเข่า เจ็บกระดูก ที่มีน้ำหนักตัวมากจนเกิดปกติ
- ผู้ที่เคยประสบอุบัติเหตุรุนแรง ตามข้อต่อต่างๆ เช่น ข่อเข่า ศอก ข้อหลุดเคลื่อน กระดูกหักเข้าข้อ เป็นต้น
- พันธุกรรม
- ผู้ที่มีการใช้ยาสเตียรอยด์ต่อเนื่อง
- การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ผสมเป็นจำนวนมาก ยาวนานต่อเนื่อง
13 เมื่อเกิดปัญหากระดูกและข้อในผู้สูงอายุ ขึ้นแล้วความดูแลตัวเองดังนี้ค่ะ
1 ปวดข้อเข่า เพราะน้ำหนักมากเกินไป ต้องทำการลดน้ำหนัก
ปวดข้อเข่า ในผู้สูงวัย เพราะน้ำหนักมากเกินไป เริ่มต้นกันที่ การใช้วิธีช่วย ด้วยการลดน้ำหนัก เพราะหากน้ำหนักมากเกินไปเมื่อเดินจะมีแรงกดลงที่เข่าประมาณ 5 เท่า ของน้ำหนักตัว ซึ่งหากทำการวิ่ง จะทำให้เกิดแรงกดลงที่หัวเข่า หรือตรงข้อเข่าเพิ่มขึ้นสูงถึง 7 – 10 เท่า จากเดิม ( ในส่วนของการถีบจักรยาน วัดได้ประมาณ 1.5 เท่าของน้ำหนักตัวเพียงเท่านั้น )
ดังนั้น ถ้าหากผู้สูงวัย ทำการลดน้ำหนักตัวได้ ในส่วนของ ข้อเข่าก็จะรับแรงกดน้อยลง ทำให้อาการอย่างเช่น เข่าเสื่อม เกิดขึ้นช้าลง และอาการปวดเข่า ปวดกระดูกก็จะมีโอกาสเกิดได้ลดลงด้วย
2 ทานผัก ผลไม้ ที่มีคอลลาเจน และแคลเซียม เสริมข้อเข่า กระดูก
คอลลาเจนเสริมข้อเข่า กระดูกแข็งแรง อย่างในทานผัก ผลไม้ ที่มีคอลลาเจน และแคลเซียม เสริมข้อเข่า กระดูก อย่างเช่น ผักคะน้า บรอกโคลี หรือผักโขมจะมีคอลลลาเจนจำนวนมาก หรือในผลไม้สีแดง อย่างในสตรอว์เบอร์รี่ เชอร์รี่ แอปเปิ้ล รวมไปถึงเนื้อปลาทะเลน้ำลึก ก็มี Collagen
นอกจากเรื่องข้อเข่า ยังควรมีแคลเซียมในอาหารด้วย อาจเป็นแคลเซียม ที่ได้จากสัตว์ หรือกระดูก แต่ Calcium ที่ดูดซึมดีที่สุดนั้นได้จากพืช เช่น Calcium ประเภท L-threonate ที่ได้รับจากข้าวโพดจะดูดซึมได้ดีที่สุด ในผู้สูงอายุ
ซึ่งใน SIRINYA Collagen UC-II +Calcium l-threonate มีทั้งคอลลาเจนประเภทที่ 2 ที่เน้นข้อเข่า และมี Calcium l-threonate สกัดจากพืช แถมยังมี Vitamin C D เสริมสุขภาพดี ก็เป็นตัวเลือกที่ดีหากไม่สามารถหาทานผัก ผลไม้ ที่มีคอลลาเจน และแคลเซียมได้ทุกวัน สนใจ ID Line : @SIRINYACalcium
3 ปวดข้อเข่า ท่านั่ง
ปวดข้อเข่า ท่านั่ง ควรนั่งบนเก้าอี้สูงระดับเข่า อย่างเช่นการนั่งห้อยขา ฝ่าเท้าของผู้สูงวัยจะวางราบกับพื้นพอดี ในผู้สูงอายุไม่ควร นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ หรือห้ามนั่งคุกเข่า นั่งยอง ๆ และนั่งราบบนพื้น เพราะเป็นการเร่งให้ผิวข้อเข่าเสื่อมเร็วมากขึ้นหลายเท่า
4 ปวดข้อเข่า ทำไงดี เวลาเข้าห้องน้ำ
ปวดข้อเข่า ทำไงดี เวลาเข้าห้องน้ำ ควรนั่งถ่ายบนโถนั่งชักโครก หรือหากไม่มี ให้เลือกการใช้วิธีนั่งบนเก้าอี้สามขาที่มี รู ตรงกลาง ซึ่งเหมาะกับผู้สูงวัย เมื่ออายุมากขึ้นไม่ควรทำการนั่งยอง ๆ เพราะว่าข้อเข่าจะมีการเสียดสีกันมาก ทำให้เจ็บเข่า เกิดข้อเข่าเสื่อมขึ้นได้
5 นอนบนเตียง แก้ปวดเข่า การดูแล
นอนบนเตียง แก้ปวดเข่า การดูแล นอนบนเตียง ที่มีความสูงระดับเข่า อย่างเช่นห้อยขา ที่บริเวณตรงส่วนของขอบเตียง แล้วฝ่าเท้าจะแตะพื้นพอดี หรือลองหาหมอน มารองข้อเข่า ตอนนอน ก็จะมีส่วนช่วยให้ข้อเข่าไม่เจ็บได้
6 ปวดเข่า ในผู้สูงอายุ หลีกเลี่ยงการยืนหรือนั่งในท่าเดียวนาน ๆ
ปวดเข่า ในผู้สูงอายุ ควรหลีกเลี่ยงการยืน หรือพฤติกรรมนั่งในท่าเดียวนาน ๆ เพราะอาจทำให้ข้อเข่าเสื่อม ปวดกระดูกได้
7 วิธีแก้ปวดข้อเข่า กระดูก ด้วยการยืน
วิธีแก้ปวดข้อเข่า กระดูก การยืน ควรยืนตรง ขากางออกเล็กน้อย เพื่อช่วยให้น้ำหนักตัวของผู้สูงวัยลงสู้พื้นอย่างพอดี เนื่องจากเมื่อใช้ข้างเดียว จะเป็นการทำให้หัวเข่าเพียงข้างเดียว รับน้ำหนักตัวทั้งหมด จนเจ็บข้อเข่า กระดูก หรือสะโพกตามมาได้
8 การเดิน ป้องกันปวดเข่า
ป้องกันปวดเข่า ด้วยการเดิน บริเวณที่พื้นที่มีความเสมอกัน เพื่อไม่ให้ เข่าข้างใดข้างนึง รับน้ำหนักมากกว่าอีกหนึ่งข้าง
9 แก้ปวดเข่า ในผู้สูงอายุ ใช้ไม้เท้า
แก้ปวดเข่า ในผู้สูงอายุ ก็สามารถใช้ไม้เท้าเพื่อให้มือ ช่วยในการรับน้ำหนัก เมื่อเท้าสองข้างเริ่มเจ็บได้
10 บริหารกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าที่ดีที่สุด
ท่าบริหาร ข้อเข่าที่ดีที่สุด บริหารกล้ามเนื้อรอบข้อเข่า แบบพอดี ก็สามารถทำให้ข้อเข่า มีความแข็งแรงขึ้นได้ (ไม่ควรออกกำลังกายมาก หรือน้อยจนเกินไป เพราะถ้ามากเกินไปจะทำให้เจ็บเข่า หรือกระดูกได้)
11 ถ้ามีอาการปวด อยากลดปวดเข่า
ถ้ามีอาการปวด อยากลดปวดเข่า ให้พักการใช้ข้อเข่า สามารถลองเลือกวิธีการประคบด้วยความเย็น /หรือใช้ความร้อน เพื่อบรรเทาอาการปวดเข่าปวดกระดูกได้ง่ายๆ ใกล้ตัวคุณ
12 หลีกเลี่ยงการขึ้นลงบันได
หลีกเลี่ยง อาการปวดข้อเข่า เช่น หลีกเลี่ยงการขึ้นลงบันได เพราะทำให้หัวเข่า รับน้ำหนักมากกว่าปกติหลายเท่า และจะเป็นการใช้หัวเข่าที่หนักจนเกินไปในทุกวัน (ควรจัดทำที่นอนด้านล่างของบ้าน หรือชั้นแรกของบ้าน)
13 การออกกำลังกายวิธีอื่น
การออกกำลังกายวิธีอื่น วิธีออกกำลังกาย แก้ปวดเข่า ให้ลอง ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน หรือใช้วิธีเดินเร็ว ๆ วิ่งเหยาะ ๆ ตามเหมาะสม ที่สามารถทำได้ ไม่ควรใช้วิธีการที่รุนแรงจนเกินไป เช่นเล่นฟุตบอล เป็นต้น
เพื่อนๆก็อย่าลืมดูแลผู้สูงวัย หรือผู้สูงอายุเอง ก็ควรเริ่มดูแลตัวเอง แบบพอดี ดีที่สุด หากมีอาการรุนแรงจนเกินไป ควรเริ่มปรึกษาหมอ เพราะหากปล่อยทิ้งไว้นานๆ อาจมีอาการกระดูกขาโก่งงอ ตามมา ในผู้สูงอายุ